รักษารากฟัน

การรักษาคลองรากฟัน

เป็นทันตกรรมแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นด้านการรักษาคลองรากฟันและเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน ซึ่งสาเหตุโดยทั่วไปเกิดเนื่องมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายรากฟัน หรือเกิดจากการหัก ร้าว หรือผุ ลึกลงไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟันซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดอยู่ ก่อให้เกิดอาการปวดและบวมที่บริเวณนั้น บางครั้งอาจเกิดความเสียหายต่อกระดูกขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อ รวมถึงการติดเชื้อและการอักเสบในโพรงฟัน การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีจึงมีความสำคัญและช่วยให้ผู้ป่วยยังคงสามารถเก็บฟันซี่นั้นได้ โดยไม่ต้องถูกถอนทิ้งไป

โดยในอดีตปัญหาเหล่านี้มักจะได้รับการแก้ไขด้วยการถอนฟันซี่นั้นทิ้งไป แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาทางทันตกรรมรวมถึงเทคโนลยีด้านเทคนิค วัสดุและอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ช่วยให้สามารถรักษาอาการดังกล่าวได้ด้วยการรักษาคลองรากฟัน ซึ่งช่วยให้ผู้เข้ารับบริการไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป

สาเหตุ :

มีคนไข้หลายคนปล่อยฟันให้ผุทิ้งไว้ไม่รักษา และไม่อุดฟันให้เรียบร้อยทำให้โรคฟันลุกลามทำลายฟันมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน เกิดการอักเสบและมีฝีหรือถุงหนองที่ปลายรากฟัน มีอาการปวดทรมาน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค และทำลายสุขภาพร่างกายอย่างเรื้อรัง จนจำเป็นต้องถอนฟันไปแล้วมิใช่น้อย แต่เมื่อเกิดความต้องการแก้ไขด้วยการรักษาฟันไว้ นั่นก็คือการรักษาคลองรากฟัน เพียงแต่วิธีการรักษาเพียงแต่รักษาค่อนข้างยุ่งยากและสลับซับซ้อน ต้องใช้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

ขั้นตอนของการรักษาคลองรากฟัน

1. กรอฟันหาคลองรากฟันซึ่งเป็นรูเล็กๆ อยู่ต่อจากโพรงประสาท ถึงปลายรากฟัน
2. ขยายคลองรากฟันให้ใหญ่ขึ้น เพื่อใช้น้ำยาล้าง ซับให้แห้ง และใส่ยาฆ่าเชื้อโรคได้
3. ปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ประมาณ 3 ถึง 7 วัน
4. ล้าง และขยายคลองรากฟัน พร้อมเปลี่ยนยาฆ่าเชื้อโรคใหม่ และอุดปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราวกลับไปอีกครั้ง ทำเช่นนี้ 3 – 4 ครั้ง จนกว่าหนองจะแห้ง ไม่มีเชื้อโรคและสิ่งสกปรกตกค้าง
5. เมื่อหนองแห้งไม่มีเชื้อโรคและสิ่งสกปรกตกค้าง ทันตแพทย์ก็จะทำการอุดปิดโพรงประสาทฟันถาวร โดยอุดปิดตั้งแต่ปลายรากฟันถึงพื้นโพรงประสาทฟัน และปิดทับด้วยวัสดุทางทันตกรรมจำพวกซีเมนต์ ( Cement) และอมัลกั้ม ( Amalgam ) ซึ่งมีคุณสมบัติให้ความแข็งแรงได้ดี จึงใช้อุดฟันกรามที่ต้องรับแรงบดเคี้ยวมากๆ สำหรับฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม และไม่ต้องรับแรงบดเคี้ยวมาก ก็จะอุดด้วยวัสดุที่มีสีเหมือนฟันธรรมชาติ
6. ทันตแพทย์จะทิ้งระยะเพื่อรอดูอาการซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของฟัน และเมื่อแน่ใจว่าการรักษาคลองรากฟันประสบความสำเร็จ ทันตแพทย์ก็จะทำการครอบฟันด้วยวัสดุตามความเหมาะสม

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการเข้ารับการรักษาคลองรากฟัน

ช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกหลังได้รับการรักษาคลองรากฟันแล้วนั้น ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกเสียวฟันอันเกิดเนื่องมาจากเนื้อเยื่อได้เคยเกิดการอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดมาก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถแก้ไขด้วยการรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปและอาการดังกล่าวจะหายไปในเวลาไม่นาน

วิธีการดูแลเมื่อเข้ารับการรักษาคลองรากฟันและเมื่อเสร็จสิ้นการรักษา

1. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวบริเวณฟันที่ได้รับการรักษา เนื่องจากทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงฟันแบบชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นฟันซี่นั้นจึงไม่มีความแข็งแรงมากพอที่งานได้ตามปกติ
2. เมื่อการรักษารากฟันเสร็จสิ้นแล้วนั้น ฟันซี่ดังกล่าวก็จะมีความแข็งแรงไม่เท่าดังเดิม ดังนั้นทันตแพทย์จึงแนะนำให้รับการใส่เดือยฟันและครอบฟันเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและป้องกันฟันซี่นั้นจากการติดเชื้อและฟันแตกหัก
3. เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดีควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี
4. ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันปัญหาในช่องปากและฟันได้

คำถามที่พบบ่อย

การรักษารากฟัน คือขบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและคลองรากฟันที่มีการติดเชื้อ และอักเสบ ร่วมกับการทำความสะอาดในคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค จากนั้นจึงอุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟันเพื่อความแข็งแรงและสวยงามให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ส่วนใหญ่เป็นฟันที่ผุลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน ฟันที่ร้าว แตกหัก หรือสึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน และฟันที่ได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ทำให้มีเชื้อโรคเข้าไปในโพรงประสาทฟันและทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันได้

ฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟัน มักมีอาการปวดฟันขึ้นมาเอง อาจปวดแบบเป็นๆหายๆ หรือปวดรุนแรงจนนอนไม่หลับ หรือทำให้ต้องตื่นเนื่องจากปวดฟันมาก หรือมีอาการเสียวฟันมากเวลาดื่มของร้อนหรือเย็น รู้สึกเจ็บฟันเวลาเคี้ยวอาหาร บางครั้งอาจพบว่าฟันเปลี่ยนสี มีสีคล้ำ หรือมีอาการเหงือกบวม มีตุ่มหนอง หรือบวมบริเวณใบห

ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันและบูรณะตัวฟันเสร็จแล้ว จะสามารถอยู่กับเราได้นานเท่ากับฟันที่ปกติ ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากของแต่ละคน

หลังการรักษาในแต่ละครั้งอาจพบอาการปวดได้บ้าง ประมาณ 1-3 วันแรก สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรืออาการปวดเป็นมากขึ้น ให้กลับมาพบทันตแพทย์ และไม่ควรใช้ฟันกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งถ้าหากว่ายังไม่ได้บูรณะตัวฟันให้แข็งแรง อาจทำให้ฟันแตกหรือหักได้

ถ้าสามารถกำจัดสาเหตุและเชื้อโรคได้หมด และการบูรณะฟันทำได้ดีไม่รั่วซึม ร่วมกับการดูแลทำความสะอาดฟันที่ดีไม่มีการผุเพิ่มเติม ฟันก็จะไม่มีอาการปวดกลับมาอีก

ค่ารักษารากฟัน

หมายเหตุ :

  • อัตราค่ารักษาอื่น ๆ ท่านสามารถโทรสอบถามได้จากทางคลินิก
  • อัตราค่ารักษาดังกล่าวเป็นการประเมินในเบื้องต้น ค่าใช้จ่ายจริงทันตแพทย์จะเป็นผู้แจ้งให้ท่านทราบหลังจากทำการตรวจ ปรึกษาและวางแผนรักษาแล้ว
  • ราคานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

นัดหมาย