ถอนฟันและผ่าฟัน

ถอนฟันธรรมดา
เหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องทำการถอนฟันคือ:

  • มีอาการฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
  • มีปัญหาโรคเหงือกอย่างรุนแรง (gum disease)
  • ฟันหักแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
  • มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟันซึ่งทันตแพทย์เห็นสมควรที่จะถอน เช่นปัญหาฟันคุด
  • เพื่อเป็นการเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน

ขั้นตอนการถอนฟัน

  • ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน ในบางกรณีการถ่ายเอ็กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่ง สามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้ ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น
  • การเตรียมบริเวณฟันที่จะได้รับการถอน ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการถอนฟัน
  • ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อ บริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง

คำแนะนำและข้อปฏิบัติหลังการถอนฟัน

  • ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆประมาณ 30 นาที เพื่อห้ามเลือด และควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่หลังจากนั้นจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
  • ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
  • ในกรณีที่มีเลือดออกเล็กน้อย ควรทำการอมน้ำเกลือเย็นๆไว้สักครู่
  • ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
  • สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
  • สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
  • ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดย ทันตแพทย์

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียฟัน

เมื่อสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่งไป ฟันซี่ข้างเคียงก็จะค่อยๆล้มหรือเคลื่อนไปยังช่องว่าง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพปากและฟัน การสูญเสียฟันหนึ่งซี่นั้นอาจมีผลกระทบต่อการบดเคี้ยว การเรียงตัวของฟัน และการสบฟัน เป็นต้น

ฝ่าฟันคุด

  • วัยรุ่น เป็นวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เมื่ออายุ 14 ปี จะมีฟันแท้เกือบครบ 32 ซี่ ขาดเพียงฟันกราม 4 ซี่สุดท้าย ซึ่งจะขึ้นเมื่ออายุ 18 ปี ขึ้นไป ในบางรายฟันกราม 4 ซี่นี้ อาจขึ้นเพียงบางส่วนไม่เต็มที่ หรือที่รู้จักกันว่า “ฟันคุด”
  • ฟันคุด เป็นฟันที่ขึ้นไม่ได้ หรืออาจขึ้นได้เพียงบางส่วน ไม่เต็มซี่ จะเกิดมากที่สุดกับฟันกรามซี่สุดท้าย ที่อยู่ในสุด โดยพบในคนอายุ 18 ปีขึ้นไปเหตุที่ต้องผ่า หรือถอนฟันคุดออก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ฟันคุดจะดันฟันซี่ข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวดซอกฟัน ระหว่างฟันคุด กับฟันซี่ติดกัน นอกจากนั้น ยังเป็นที่สะสมของเศษอาหาร ทำความสะอาดยาก ทำให้มีอาการบวม และเป็นไข้ บางรายถึงกับอ้าปากไม่ขึ้น ถ้าพบว่า มีฟันคุดอยู่ในปากของท่าน ควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อทำการผ่า หรือถอนออก เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมา

คำแนะนำในการรักษา

ในบางรายอาจไม่ทราบว่ามีฟัน คุดหรือไม่ การเอ็กซเรย์รอบปากจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดทางเดียว ที่จะทราบได้ว่าท่านมีฟันคุดหรือไม่ ถ้ามี ควรถอนฟันคุดออกเสีย แม้จะยังไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม เพราะการถอนออกตั้งแต่แรกพบ หรือในวัยเด็กจะทำให้ถอนได้ง่ายและหายเร็วกว่าในวัยผู้ใหญ่

คำถามที่พบบ่อย

    • ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18 – 25 ปี อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ
  • เมื่อมีอาการปวด เพราะฟันคุดมีแรงผลัก เพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกัดหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร จึงเกิดอาการปวดขึ้น
  • ฟันคุดทำให้เกิดฟันซ้อนเก
  • ฟันคุดทำให้เกิดฟันผุ ฟันคุดเป็นที่กักเศษอาหาร ทำความสะอาดยากเพราะอยู่ลึกใกล้ลำคอ นอกจากฟันคุดผุแล้ว มักจะมีฟันที่ดีๆข้างเคียงผุด้วย จนไม่สามารถรักษาได้ อาจจะต้องถอนไปพร้อมฟันคุดอย่างน่าเสียดาย
  • ฟันคุดทำให้เหงือกอักเสบ เศษอาหารที่ค้างอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟันอยู่นั้น เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ยากจะทำความสะอาดได้หมด ซึ่งง่ายต่อการเกิดเหงือกอักเสบและบวม
  • ฟันคุดทำให้ติดเชื้อ การติดเชื้อจากฟันคุดทำให้ขากรรไกรบวม ถ้าเป็นรุนแรง อ้าปากไม่ขึ้น กลืนไม่ได้ ลุกลามลงคอ อาจทำให้หายใจไม่ได้ ถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาลรักษาอย่างเร่งด่วนกันเลย
  • การที่มีถุงน้ำอยู่ในขากรรไกรก็เหมือนกับลูกโป่งที่จะค่อยๆพองใหญ่ขึ้น เบียดกินกระดูกขากรรไกรไปเรื่อยๆ ถ้าพบและรีบผ่าตัดออกได้เร็ว โอกาสในการสูญเสียอวัยวะขากรรไกรก็น้อย ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่หากถุงน้ำใหญ่มากๆ อาจถึงขนาดต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น
    • ฟันคุดจะเป็นแหล่งสะสมเศษอาหารและแบคทีเรียค่ะ และยังทำให้ฟันข้างเคียงผุ และดันให้ฟันเอียงไม่เป็นระเบียบ เปรียบเหมือนระเบิดเวลา แนะนำให้ถอนออกตั้งแต่ยังไม่ปวดจะดีที่สุด
    6 เหตุผล ที่เราต้องเอาฟันคุดออก
  • เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
  • เพื่อป้องกันอาการปวด เพราะตัวฟันคุดเองมีแรงผลักเพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกันหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร อาการปวดมีตั้งแต่ทนได้จนกระทั่งปวดมาก ในบางครั้งอาจมีอาการปวดแบบส่งต่อหลังจากตำแหน่งฟันคุดไปยังบริเวณอื่นของใบ หน้า เช่น ปวดหน้าหู ปวดตา ปวดศีรษะ เป็นต้น
  • เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด อาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบ ๆ บริเวณนั้น หากไม่เคยได้รับการตรวจฟัน มักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียงหรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งถ้าพบและรีบทำการผ่าตัดออกได้เร็ว การสูญเสียอวัยวะ ขากรรไกรก็น้อย ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่ถ้าถุงน้ำหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปใบหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น
  • เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
  • เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่ พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป
  • เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
ราคาถอนฟันและผ่าฟัน

หมายเหตุ :

  • อัตราค่ารักษาอื่น ๆ ท่านสามารถโทรสอบถามได้จากทางคลินิก
  • อัตราค่ารักษาดังกล่าวเป็นการประเมินในเบื้องต้น ค่าใช้จ่ายจริงทันตแพทย์จะเป็นผู้แจ้งให้ท่านทราบหลังจากทำการตรวจ ปรึกษาและวางแผนรักษาแล้ว
  • ราคานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

นัดหมาย