ทันตกรรมประดิษฐ์

สะพานฟัน (Bridges)

สะพานฟัน เป็นการทำทันตกรรมเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยทำการครอบฟันสองซี่ที่อยู่ด้านข้างระหว่างช่องฟันก่อนจากนั้นจึงทำการทดแทนฟันที่เสียไประหว่าง ช่องว่างนั้น หากปล่อยให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ เช่น ฟันอาจล้มลงมาบริเวณช่องว่าง ทำให้เกิดปัญหาการเคี้ยวและการสบฟัน นอกจากนี้ อาจมีผลกระทบ ทำให้เกิดการปวดขากรรไกร โรคเหงือก และอาการฟันผุได้

วัสดุที่นำมาใช้ในการทำสะพานฟันมีหลายประเภทเช่นเดียวกับการครอบฟัน ทั้งแบบที่ทำจากโลหะ ทอง เซรามิก และเซรามิกผสมโลหะ

อย่างไรก็ตาม บทบาทและหน้าที่ของฟันทุกซี่ ล้วนมีความสำคัญทั้งในการพูด เคี้ยวอาหาร และช่วยในการรักษาสภาพโครงสร้างของฟันอีกด้วย

หากคนไข้มีฟันที่สูญเสียไป ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อหาวิธีที่ถูกต้อง และเหมาะสมแก่การรักษา หากปล่อยเอาไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา ช่องว่างที่เกิดจากฟันเสียไปนั้น อาจทำให้ฟันบริเวณด้านข้าง ล้มจนเสียโครงสร้างฟัน และนอกจากนี้อาจทำให้เกิดโรคเหงือกได้ เนื่องจากปกติแล้ว ฟันแต่ละซี่จะช่วยเสริมและแบ่งรับน้ำหนักซึ่งกันและกัน เวลาบดเคี้ยวหรือสบฟัน หากไม่มีซี่ใดซี่หนึ่ง อาจทำให้แรงกดบริเวณนั้น กดลงสู่เหงือกและเนื้อเยื่อบริเวณภายในปากมากเกินไป และยังสามารถ ก่อให้เกิดอาการหรือโรค อันตรายอื่นๆตามมาได้เช่นกันซึ่งรวมไปถึงอาการต่างๆเหล่านี้

  • ฟันตำแหน่งคู่ตรงข้ามกับฟันที่เสียไปอาจมีการหลุดออกมาได้
  • ช่องว่างระหว่างฟันที่สูญเสียไปอาจทำให้เกิดปัญหาขณะบดเคี้ยวได้
  • หากไม่เข้ารับการรักษาสะพานฟัน อาจทำให้ฟันซี่บริเวณใกล้เคียงเลื่อน มายังตำแหน่งช่องว่าง ซึ่งทำให้การดูแลรักษาและทำความสะอาดทำได้ยาก จึงทำให้เกิดอาการ ฟันผุและโรคเหงือกตามมา

คำถามที่พบบ่อย

ขั้นตอนในการรักษามีหลายกระบวนการและหลายขั้นตอน อาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา 2-3 ครั้ง เนื่องจากมีการนำแบบพิมพ์ฟันจำลองไปยังห้องแลปสำหรับทำสะพานฟัน เพื่อให้มีขนาดเหมาะสมและพอดีในการรักษา

  • ทันตแพทย์ตรวจฟันและฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะกรอก่อนทำสะพานฟัน
  • กรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่สะพานฟัน หากฟันที่เป็นฐานมีการอุดฟันไว้ ส่วนที่ถูกอุดฟันจะดึงออก เนื่องจากจะมีการทำการครอบฟันลงไปแทนที่
  • พิมพ์ฟันเพื่อทำแบบจำลอง และส่งแบบจำลองไปยังห้องแลปเพื่อทำสะพานฟัน
  • ทันแพทย์จะทำการติดสะพานฟันชั่วคราวให้ สำหรับใช้งานระหว่างการรอผลิตสะพานฟันแบบถาวร
  • หากสะพานฟันชั่วคราวมีอาการหลวมหรือหลุด ให้พยายามใส่สะพานฟันชั่วคราวไว้ตำแหน่งเดิม และทำการนัดทันตแพทย์เพื่อรักษาและแก้ไข หากไม่สามารถใส่กลับลงไปตำแหน่งเดิมได้ ให้รีบมาพบทันตแพทย์พร้อมนำสะพานฟันชั่วคราวชิ้นส่วนนั้นมาด้วย

ฟันปลอม คือ ฟันที่มาทดแทนฟันที่เสียไป ซึ่งสามารถใส่เข้าและถอดออกจากปากของเราได้ แม้ว่าฟันปลอมอาจจะต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคย และไม่มีทางที่จะรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติ แต่ฟันปลอมในปัจจุบันก็แลดูเป็นธรรมชาติและมีความสะดวกสบายมากกว่าเมื่อก่อน

ฟันปลอมชนิดทั้งปาก จะมีฐานเป็นอะคริลิคสีเหมือนเหงือกที่จะสามารถติดพอดีกับเหงือกของเรา ฐานของฟันปลอมบนจะติดกับเพดานปาก ในขณะที่ฟันปลอมล่างจะมีลักษณะเหมือนเกือกม้าเพื่อที่จะมีพื้นที่ให้กับลิ้น

ฟันปลอมจะทำโดยเฉพาะสำหรับแต่ละคนในห้องปฏิบัติการทันตกรรม จากการพิมพ์ปากของเรา ทันตแพทย์จะตัดสินว่าฟันปลอมชนิดใดเหมาะสมกับคุณ

  1. ควรถอดฟันปลอมออกเวลานอน เพื่อให้เหงือกได้มีโอกาสพักและลดแรงกดบนกระดูกขากรรไกร
  2. การดูแลความสะอาดฟันปลอมอย่างถูกวิธีมีความสำคัญมากเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากาสะสมของคราบอาหารและแบคทีเรียฟันปลอม
  3. ขณะที่ไม่สวมใส่ฟันปลอม ควรทำแช่ในน้ำสะอาดเพื่อความชุ่มชื้นตลอดเวลา
  4. ควรให้ความระมัดระวัง เพราะฟันปลอมสามารถแตกหักได้
  5. ควรทำความสะอาดเหงือกและลิ้นด้วยแปรงสีฟันอ่อนๆเพื่อสุขอนามัยที่ดี

ประเภทของสะพานฟัน

1. สะพานฟันแบบธรรมดา (Traditional Fixed Bridges)
การทำสะพานฟันแบบธรรมดาจะประกอบด้วยการครอบฟันสองซี่บริเวณด้านข้าง และมีการครอบฟันลอย (Pontic) เพื่อใช้ทดแทนบริเวณช่องว่างที่สูญเสียฟันไป เป็นตัวเชื่อมครอบฟันที่ยึดติดบนฟันซี่ด้านข้าง การทำสะพานฟันประเภทนี้ไม่สามารถถอดออกได้เหมือนการทำฟันปลอม
2. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Resin Bonded Bridges)
ปกติแล้ว การทำสะพานฟันด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับฟันหน้า และฟันด้านข้างของช่องว่าง ควรมีลักษณะที่สมบูรณ์ ส่วนช่องว่างของฟันที่สูญเสียไม่ควรใหญ่มากนัก โดยการทำครอบฟันลอย ยึดติดกับแกนโลหะ และใช้วัสดุเรซินทำคล้ายกับปีกติดด้านหลัง ของฟันด้านข้าง เพื่อไม่ให้เห็นรอยต่อของสะพานฟัน ดังนั้นการทำสะพานฟันแบบนี้ จึงไม่ซับซ้อนในการทำสะพานฟัน ของฟันด้านข้าง ค่าใช้จ่ายจึงไม่แพงมากนักด้วย
3. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever Bridges)
การทำสะพานฟันด้วยวิธีนี้ สามารถใช้ได้กับฟันบริเวณที่ไม่มีแรงกดมากนัก เช่น บริเวณฟันหน้าโดยใช้การครอบฟันลอยยึดเกาะฟัน ข้างเคียงเพียงซี่เดียวในการทำสะพานฟัน

ข้อดี

  • ช่วยให้มีรอยยิ้มที่สวยงามและมีภาพลักษณ์ที่ดีได้เช่นเดิม
  • ช่วยป้องกันอาการฟันผุและการเกิดโรคเหงือกได้
  • ช่วยให้มีความสามารถในการสบฟันและบดเคี้ยวได้เหมือนปกติ
  • ช่วยให้มีความสามารถในการพูดและการออกเสียงได้เหมือนปกติ
  • ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาฟันล้ม และช่วยคงสภาพโครงสร้างของฟันไว้

ข้อเสีย

  • หากรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเย็นจัด อาจมีอาการเสียวฟันบริเวณสะพานฟันในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังจากการรักษา
  • ควรดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากอย่างดี เนื่องจากอาจเกิดเชื้อแบคทีเรียสะสมที่บริเวณฟันและเหงือกได้ หากไม่ทำความสะอาดและดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

การดูแลรักษา

สะพานฟันจะสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันและเหงือกที่ใช้เป็นฐานรองรับ สะพานฟันมีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้น คนไข้จึงควรดูแลและรักษาสุขอนามัยภายในช่องปากเสมอ และหากมีข้อแนะนำเพิ่มเติม ทันตแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ

การแปรงฟัน

ควรแปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง โดยแปรงบริเวณผิวด้านบน และด้านข้างของฟัน เหมือนกับการแปรงฟันทั่วไป แต่อาจใช้แปรงซองฟันทำความสะอาด บริเวณช่องว่างระหว่างฟันร่วมด้วย เพื่อความสะอาดมากยิ่งขึ้น

การใช้ไหมขัดฟัน

ควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดเศษอาหาร และแบคทีเรียบริเวณซอกฟัน อย่างน้อยวันละครั้ง แต่ไม่ควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดบริเวณสะพานฟัน หากต้องการควรใช้ไหมขัดฟันชนิดพิเศษ เพื่อรักษาความสะอาดสะพานฟัน

การพบทันตแพทย์

ควรพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อทำความสะอาด และตรวจสภาพฟัน การพบแพทย์เป็นประจำ เป็นการดูแล สุขภาพฟันและเหงือกให้อยู่ในสภาพดี และทันตแพทย์จะทำการตรวจ และเชคสภาพสะพานฟันที่คนไข้ทำการรักษาไว้ เพื่อให้มีอายุการใช้งาน ที่ยาวนาน หากคนไข้สังเกตเห็นความผิดปกติ ของสะพานฟัน ควรรีบมาพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการแก้ไข ไม่ควรแก้ไขด้วยตัวเอง

ฟันปลอมจะทำโดยเฉพาะสำหรับแต่ละคนในห้องปฏิบัติการทันตกรรม จากการพิมพ์ปากของเรา ทันตแพทย์จะตัดสินว่าฟันปลอมชนิดใดเหมาะสมกับคุณ
ประเภทฟันปลอม แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ฟันปลอมชนิดติดแน่น
    ฟันปลอมติดแน่น เป็นฟันปลอมถาวรที่ยึดแน่นในช่องปากโดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม ฟันปลอมชนิดนี้ผู้ที่ใส่ไม่สามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้ ดังนั้นถ้าไม่เอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ ฟันธรรมชาติที่เป็นฟันหลักอาจผุและไม่สามารถใช้งานเป็นหลักยึดฟันปลอมต่อไปได้หรืออาจจะต้องถอนฟันเพิ่มฟันปลอมติดแน่นจะไม่ขยับหรือหลวมหลุดในขณะที่ผู้ป่วยพูดหรือเคี้ยวอาหาร ทำให้ผู้ที่ใส่มีความมั่นใจ และเนื่องจากขนาดชิ้นฟันปลอมที่ค่อนข้างเล็ก จึงไม่ค่อยก่อให้เกิดความรำคาญ มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวค่อนข้างสูงโดยแรงจากการบดเคี้ยวจะถูกถ่ายทอดไปสู่ฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงที่ใช้เป็นหลักยึดฟันปลอมโดยตรง อย่างไรก็ตามฟันปลอมชนิดนี้ มีข้อเสียที่สำคัญมาก ได้แก่ การสูญเสียเนื้อฟันของฟันธรรมชาติที่อยู่ข้างเคียงที่จะต้องถูกกรอแต่งเพื่อให้มีขนาดเล็กลงเพื่อใช้เป็นฟันหลักสำหรับยึดฟันปลอม
  2. ฟันปลอมถอดได้
    เป็นฟันปลอมสามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาดข้างนอกช่องปากได้ มีทั้งชนิดชั่วคราวที่ทำด้วยพลาสติกและชนิดถาวรที่ทำด้วยโลหะ ข้อดีของฟันปลอมชนิดนี้ ช่วยให้ผู้ที่ใส่สามารถดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ขั้นตอนในการทำไม่ยุ่งยาก มีการกรอแต่งสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติน้อย ไม่เสียเวลามาก และมีค่าใช้จ่ายในการทำที่ค่อนข้างต่ำกว่าฟันปลอมชนิดอื่น ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามการบดเคี้ยว
    1. แรงจากการบดเคี้ยวกระจายลงสู่ซี่ฟันทั้งหมด ฟันปลอมประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพดีกว่าฟันปลอมถอดได้ประเภทอื่นๆ
    2. แรงบดเคี้ยวจะกระจายลงสู่สันเหงือกที่รองรับฟันปลอมทั้งหมด เหมาะสำหรับผู้ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่ในช่องปากเลย
    3. แรงบดเคี้ยวบางส่วนกระจายลงสู่ซี่ฟันธรรมชาติบ้างและบางส่วนกระจายลงสู่สันเหงือกที่รองรับฐานฟันปลอม

อย่างไรก็ตาม รูปร่างและขนาดของฟันปลอมถอดได้จะแตกต่างกันไปตามลักษณะการสูญเสียฟันของผู้ป่วย และฟันธรรมชาติที่ใช้เป็นหลักยึดตะขอฟันปลอม เมื่อเปรียบเทียบกับฟันปลอมติดแน่น ฟันปลอมถอดได้จะสามารถรับแรงบดเคี้ยวได้น้อยกว่า นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาเรื่องความสวยงาม เนื่องจากต้องมีส่วนตะขอของฟันปลอมไปโอบเกี่ยวกับฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ และเมื่อใช้งานฟันปลอมไปนาน ๆ ก็อาจมีปัญหาเรื่องการหลวมขยับหรือหลุด ของฟันปลอมขณะใช้งานได้ ดังนั้นเมื่อใส่ฟันปลอมไปแล้ว ผู้ป่วยควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและปรับแต่งแก้ไขฟันปลอมให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมสำหรับ การใช้งานอยู่เสมอ

ช่วงแรกที่ใส่ฟันปลอมใหม่ ๆ ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายเวลาเคี้ยวซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของการใส่ฟันปลอม แต่จะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อในช่องปากรวมทั้งกล้ามเนื้อ กระพุ้งแก้มและลิ้นจะค่อย ๆ ปรับตัวและเคยชิน
ดังนั้นช่วงแรกๆ ของการใส่ฟันปลอม ทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆจนกว่าจะชินกับฟันปลอม ส่วนการระคายเคืองหรือมีน้ำลายออกมากผิดปกติ เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงแรกๆ เช่นกัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ลดลงและหายในที่สุดเมื่อช่องปากสามารถปรับตัวเข้ากับฟันปลอม

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการเข้ารับการทำฟันปลอม

ในกรณีที่ผู้เข้ารับบริการได้รับการถอนฟันก่อนการทำฟันปลอม การสมานตัวของแผลและเหงือกอาจต้องใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นแล้วแต่สุขภาพ ของแต่ละบุคคล

หลังจากที่แผลหายดีแล้ว ทันตแพทย์จะทำการใส่ฟันปลอมให้ ซึ่งจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้ฟันปลอมมีความเหมาะสมกับสภาพช่องปาก ของผู้เข้ารับบริการและให้ความสบายมากที่สุด โดยทั่วไปผู้เข้ารับบริการสามารถพูดคุยได้เหมือนปกติหลังสวมใส่ แต่อาจมีความรู้สึกไม่สะดวกสบายนัก ในขณะเคี้ยวอาหารซึ่งมักเกิดขึ้นได้ในช่วงแรกๆหรือบางครั้งอาจเกิดได้นานถึง 2-3 สัปดาห์จนกว่ากล้ามเนื้อบริเวณกระพุ้งแก้มและลิ้นจะปรับตัวและเคยชิน กับฟันปลอมใหม่ได้ ดังนั้นทันตแพทย์จึงแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการรับประทานอาหารอ่อนในช่วงแรกๆ จนกว่าจะชินกับฟันปลอมที่ใส่

อาการต่างๆเช่น อาการระคายเคือง อาการปวด หรือการมีน้ำลายออกมามากกว่าปกตินั้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในช่วงระยะเวลาแรกของการใส่ฟันปลอม ซึ่งอาการต่างๆจะลดลงและหายในที่สุดเมื่อช่องปากสามารถปรับเข้ากับฟันปลอม

ครอบฟัน

ต้องพิจารณาเนื้อฟันที่เหลืออยู่ ถ้าเหลือมากพอจึงสามารถทำครอบฟันให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน (เป็น 10 ปี) กรณี “แต่ทำไปทำมาบอกว่ารากฟันผมยุ่ยแล้ว” อาจหมายถึงมีเนื้อฟันเหลือน้อย และอาจเป็นสาเหตุให้ครอบฟันมีอายุการใช้งานน้อยลงจากปกติ ซึ่งคุณต้องยอมรับความเสี่ยง และต้องระมัดระวังเวลาใช้งาน เนื่องจากเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุดแล้วสำหรับกรณีนี้
ถ้าไม่ยอมรับความเสี่ยง (ว่าครอบได้ไม่ดีเท่ากรณีอื่นๆ) ควรถอนและฝังรากเทียม ซึ่งก็มีความเสี่ยงพอกัน บอกแล้วว่า ครอบฟันเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดในกรณีนี้ แล้วถ้าอนาคตมันเป็นอะไรไปค่อยถอนแล้วทำรากเทียม (ซี่ละ หลายหมื่นค่ะ)

ชนิดของการครอบฟัน ซึ่งต้องทำให้พอดีกันฟันของคุณทุกประการ จึงไม่มีแบบสำเร็จรูป แบ่งได้หลักๆ สองชนิด
ทำจากโลหะ หรือมีแกน (substructure) เป็นโลหะ ซึ่งทำจากโลหะ base metal au0%, paladium au2%, semiprecious au40-55%, highprecious au87-100% ถ้าทำจาก base metal ทำให้ขอบเหงือกมีสีคล้ำได้ ไม่มีอันตรายแต่ไม่สวย (กรณีมีแกนเป็นโลหะ จะเคลือบผิวครอบด้วย เซรามิก สีเหมือนฟัน แต่จะเหมือนฟันจริงหรือไม่ขึ้นกับอีกหลายปัจจัย)
อีกแบบทำจากเซรามิกล้วนๆ ไม่ทำให้ขอบเหงือกคล้ำ สวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติที่สุด ยังแบ่งเป็นอีกหลายแบบ หลายเทคนิค มีข้อบ่งใช้มากมาย ไม่สามารถทำในทุกกรณีเรื่องรั่วซึม ขึ้นกับฝีมือของแพทย์ ค่ะ แต่ถ้าใช้ โลหะ base metal หรือครอบเซรามิกล้วนบางแบบ ซึ่งด้วยคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ ไม่สามารถทำให้แนบกับฟันได้เท่ากับวัสดุชนิดอื่น จึงอาจทำให้รั่วซึมได้ง่ายกว่าชนิดอื่น

เดือยฟัน

ว่าด้วยเรื่องชนิดของเดือยฟัน (ซึ่งทำหน้าที่ retain core material )มีหลากหลายชนิด อีกเช่นกัน แบ่งหลักๆเป็น สองแบบ คือ
custom post หรือ cast post คือเดือยฟันที่ทำมาพอดีกับรากฟัน ทำจากโลหะ (base metal, palladiam au2-40%, high gold au40%++, มีสีแบบโลหะทั่วไป) หรือเซรามิก (สีขาว) ถ้าใช้ base metal อาจทำให้ขอบเหงือกคล้ำได้

prefabicated post คือเดือยฟันสำเร็จรูป มีหลายขนาด แพทย์ต้องเลือกขนาดที่ใกล้เคียงที่สุด และยึดเข้ากับรากฟัน เดือยกลุ่มนี้ ไม่ทำให้ขอบเหงือกดำ แต่มีข้อบ่งใช้สำหรับบางกรณี ถ้าไม่เป็นไปตามข้อบ่งใช้ ผลการรักษา อาจไม่ดีเท่าที่ควรทันตแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ ตามความเหมาะสม

ครอบฟัน
ฟันปลอม

หมายเหตุ :

  • อัตราค่ารักษาอื่น ๆ ท่านสามารถโทรสอบถามได้จากทางคลินิก
  • อัตราค่ารักษาดังกล่าวเป็นการประเมินในเบื้องต้น ค่าใช้จ่ายจริงทันตแพทย์จะเป็นผู้แจ้งให้ท่านทราบหลังจากทำการตรวจ ปรึกษาและวางแผนรักษาแล้ว
  • ราคานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

นัดหมาย