รักษาโรคเงือก
โรคปริทันต์กับการเกลารากฟัน
หากคราบจุลินทรีย์และคราบหินปูนไม่ได้ถูกกำจัดออกและสะสมมากจนทำให้โรคเหงือกมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าการรักษาโดยเพียงการขูดหินปูนทั่วไปจะรักษาได้ กล่าวคือจะมีการละลายของกระดูกรอบๆฟันหรือกระดูกที่รองรับฟัน ที่เรียกกันว่า โรคปริทันต์ ซึ่งสามารถรุนแรงได้ถึงระดับฟันโยกหลุดไปได้
การรักษาโดยการเกลารากฟัน
การรักษาโรคปริทันต์นัั้น ทันตแพทย์จะทำการเกลารากฟัน ซึ่งคือการทำความสะอาดผิวรากฟันให้สะอาดและเรียบ เพื่อให้คราบจุลินทรีย์สะสมได้ยากขึ้น โดยการรักษานั้นอาจจะต้องมีการฉีดยาชาร่วมด้วย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับบริเวณใต้เหงือก และระยะเวลาการรักษาจะใช้เวลามากกว่าการขูดหินปูน และขัดฟันทั่วไปซึ่งขึ้นกับความรุนแรงของโรค
การทำศัลยกรรมเหงือก
คือการรักษาโรคเหงือกที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งมีหลายจุดประสงค์ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี เช่น เพื่อความสวยงามของรอยยิ้ม เพื่อให้สามารถบูรณะฟันต่อไปได้ เพื่อให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้นสำหรับฟันที่เป็นโรคเหงือก
การศัลยกรรมเหงือกมีหลายวิธีตามจุดประสงค์ต่าง ๆ กันดังนี้
การศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน (crown lengthening) รักษาในกรณีที่ เนื้อฟันที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอต่อการบูรณะ เช่น ความสูงของฟันไม่เพียงพอต่อการยึดติดของครอบฟัน/สะพานฟัน ทันตแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเพิ่มความยาวเพื่อให้สามารถบูรณะฟันเพื่อให้ใช้งานต่อไปได้ และในบางกรณีจะใช้รักษาผู้ป่วยที่ยิ้มเห็นเหงือกมากเกินไป (Gummy smile) เพื่อให้ผู้ป่วยมีรอยยิ้มที่ดูสวยงามขึ้น
การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก (Gingivectomy and Gingivoplasty)
- Gingivectomy คือ การศัลยกรรมตกแต่งเพื่อกำจัดความลึกของร่องเหงือก ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเกลารากฟันตามปกติ
- Gingivoplasty คือ การศัลยกรรมตกแต่งรูปร่างเหงือก เพื่อการใช้งาน และความสวยงาม ซึ่งมักทำร่วมกับ Gingivectomy และบางกรณีอาจใช้รักษาผู้ป่วยที่ยิ้มเห็นเหงือกมากเกินไป (Gummy smile) จากสาเหตุที่มีเนื้อเหงือกมาคลุมฟันมากไป
การศัลยกรรมปลูกถ่ายเหงือก (Gingival graft)
เป็นการปลูกถ่ายเหงือกมาปิดบริเวณเหงือกร่น เพื่อปิดส่วนรากที่โผล่ในช่องปาก และเพื่อป้องกันเหงือกร่นมากขึ้น ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจาณาความเหมาะสมในการรักษาแต่ละเคสไป เนื่องจากแต่ละคนมีความสำเร็จในการรักษาไม่เท่ากัน
คำถามที่พบบ่อย
หมายเหตุ :
- อัตราค่ารักษาอื่น ๆ ท่านสามารถโทรสอบถามได้จากทางคลินิก
- อัตราค่ารักษาดังกล่าวเป็นการประเมินในเบื้องต้น ค่าใช้จ่ายจริงทันตแพทย์จะเป็นผู้แจ้งให้ท่านทราบหลังจากทำการตรวจ ปรึกษาและวางแผนรักษาแล้ว
- ราคานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า