ถอนฟันและผ่าฟัน
ถอนฟันธรรมดา
เหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องทำการถอนฟันคือ:
- มีอาการฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
- มีปัญหาโรคเหงือกอย่างรุนแรง (gum disease)
- ฟันหักแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
- มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟันซึ่งทันตแพทย์เห็นสมควรที่จะถอน เช่นปัญหาฟันคุด
- เพื่อเป็นการเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน
ขั้นตอนการถอนฟัน
- ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน ในบางกรณีการถ่ายเอ็กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่ง สามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้ ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น
- การเตรียมบริเวณฟันที่จะได้รับการถอน ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการถอนฟัน
- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อ บริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง
คำแนะนำและข้อปฏิบัติหลังการถอนฟัน
- ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆประมาณ 30 นาที เพื่อห้ามเลือด และควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่หลังจากนั้นจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
- ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
- ในกรณีที่มีเลือดออกเล็กน้อย ควรทำการอมน้ำเกลือเย็นๆไว้สักครู่
- ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
- สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
- สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
- ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดย ทันตแพทย์
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียฟัน
เมื่อสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่งไป ฟันซี่ข้างเคียงก็จะค่อยๆล้มหรือเคลื่อนไปยังช่องว่าง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพปากและฟัน การสูญเสียฟันหนึ่งซี่นั้นอาจมีผลกระทบต่อการบดเคี้ยว การเรียงตัวของฟัน และการสบฟัน เป็นต้น
ฝ่าฟันคุด
- วัยรุ่น เป็นวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เมื่ออายุ 14 ปี จะมีฟันแท้เกือบครบ 32 ซี่ ขาดเพียงฟันกราม 4 ซี่สุดท้าย ซึ่งจะขึ้นเมื่ออายุ 18 ปี ขึ้นไป ในบางรายฟันกราม 4 ซี่นี้ อาจขึ้นเพียงบางส่วนไม่เต็มที่ หรือที่รู้จักกันว่า “ฟันคุด”
- ฟันคุด เป็นฟันที่ขึ้นไม่ได้ หรืออาจขึ้นได้เพียงบางส่วน ไม่เต็มซี่ จะเกิดมากที่สุดกับฟันกรามซี่สุดท้าย ที่อยู่ในสุด โดยพบในคนอายุ 18 ปีขึ้นไปเหตุที่ต้องผ่า หรือถอนฟันคุดออก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ฟันคุดจะดันฟันซี่ข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวดซอกฟัน ระหว่างฟันคุด กับฟันซี่ติดกัน นอกจากนั้น ยังเป็นที่สะสมของเศษอาหาร ทำความสะอาดยาก ทำให้มีอาการบวม และเป็นไข้ บางรายถึงกับอ้าปากไม่ขึ้น ถ้าพบว่า มีฟันคุดอยู่ในปากของท่าน ควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อทำการผ่า หรือถอนออก เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมา
คำแนะนำในการรักษา
ในบางรายอาจไม่ทราบว่ามีฟัน คุดหรือไม่ การเอ็กซเรย์รอบปากจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดทางเดียว ที่จะทราบได้ว่าท่านมีฟันคุดหรือไม่ ถ้ามี ควรถอนฟันคุดออกเสีย แม้จะยังไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม เพราะการถอนออกตั้งแต่แรกพบ หรือในวัยเด็กจะทำให้ถอนได้ง่ายและหายเร็วกว่าในวัยผู้ใหญ่
คำถามที่พบบ่อย
หมายเหตุ :
- อัตราค่ารักษาอื่น ๆ ท่านสามารถโทรสอบถามได้จากทางคลินิก
- อัตราค่ารักษาดังกล่าวเป็นการประเมินในเบื้องต้น ค่าใช้จ่ายจริงทันตแพทย์จะเป็นผู้แจ้งให้ท่านทราบหลังจากทำการตรวจ ปรึกษาและวางแผนรักษาแล้ว
- ราคานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า